กีรออาตี (QIRAATI) ??

ป้ายกำกับ: , ,



กีรออาตี (QIRAATI)

หลักสูตรกีรออาตี เป็นหลักสูตรสอนการอ่านอัลกุรอานที่คำนึงถึงหลักจิตวิทยาในการเรียนการสอนอัลกุรอาน และความเหมาะสมของเนื้อหากับผู้เรียน การวางขั้นตออนในการเรียนเนื้อหาต่างๆ จะเริ่มสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก มีหลักการสอนที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว ครูสอนกีรออาตีจึงต้องผ่านการอบรม และทดสอบจากผู้ดูแลหลักสูตรเท่านั้น จึงจะเปิดสอนหลักสูตรนี้ได้หลักสูตรกีรออาตีไม่มีวางจำหน่ายในท้องตลาด จะหาซื้อและเรียนได้ก็เฉพาะผู้ที่ผ่านการอบรมและทดสอบเท่านั้น

ความเป็นมาของกีรออาตี

ผู้คิดค้นกีรออาตี คือ ฮัจญีดะฮฺลัน สาลิม ซัรกาซี เกิดที่เมืองสามารัง ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ ค.ศ. 1928 ประกอบอาชีพ ค้าขาย เมื่ออายุ 25 ปี ได้เข้าศึกษาที่ปอเนาะแห่งหนึ่ง และท่านได้สอนอัลกุรอานหลักสูตรบัฆดาดี ปรากฏว่า นักเรียนอ่านหน้าลืมหลัง ไม่รู้จักพยัญชนะอาหรับ และการเรียนรู้ช้ามาก ท่านได้คิดค้นหลักสูตรใหม่ขึ้นมาเพื่อการแก้ปัญหาเหล่านี้
ท่านกล่าวว่า “แรงบันดาลใจในการคิดค้นวิธีการนี้ได้จากการดลใจของอัลลอฮฺ ความสามารถของท่านมีไม่เพียงพอในการคิดค้นสิ่งเหล่านี้”
ด้วยความอุตสาหะในการคิดค้น เรียนรู้ และทดลองใช้หลักสูตรกีรออาตีเป็นเวลาหลายปี ทำให้ได้พัฒนาแบบเรียน สื่อการเรียนการสอน วิธีการสอน การจัดการเรียนการสอน และการบริหารโรงเรียน จนสามารถผลิต “เยาวชนอัลกุรอาน” และเผยแพร่กีรออาตีในประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศบรูไน และประเทศไทย ด้วยแนวทางที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง คือระบบญิบรีล ผู้ที่สอนกีรออาตี เขาจะต้องผ่านการอบรม และทดสอบเท่านั้น ดังเช่น ญิบรีลจะทดสอบ (ตัสฮีฮฺ) การอ่านของท่านนบีมูฮัมหมัดทุกปีในเดือนรอมฎอน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเหมือนครั้งแรกที่ได้รับโองการจากอัลลอฮฺ
ดังนั้น กีรออาตี (QIRAATI) จะมีสายสืบตั้งแต่ ตัวแทนกีรออาตี (KOORDINATOR) ระดับเมือง ระดับจังหวัด ระดับประเทศ จนถึงผู้รับผิดชอบคนสุดท้ายที่ YAYASAN PENDIDIKAN ALQURAN RAUDHATUL MUJAWWIDIN เมืองสามารัง ประเทศอินโดนีเซีย

ที่มา : นิมะนาเซ สามะอาลี (2548) คู่มือการสอนอัลกุรอานหลักสูตรกีรออาตี สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ยะลา หน้า 1



0 ความคิดเห็น: